นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า “นครศรีธรรมราช”ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น
คำว่า”นครศรีธรรมราช” น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้ แปลความได้ว่า “นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม” และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา
ถ้าจะลําดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลาง ในราว 8,350-11 ,000 ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อําเภอท่า ศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสําริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง
นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อําเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสําริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าใน ช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึง ปัจจุบันนี้
พุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้ การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะ เนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสําคัญของคาบสมุทรไทยเป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณ หาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์ กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนําให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ก็สามารถจัดการปกครอง หัวเมืองรายรอบ ได้สําเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร คือ
รายชื่อเมืองสิบสองนักษัตร
- เมืองสายบุรีตราหนู
- เมืองปัตตานีตราวัว
- เมืองกลันตันตราเสือ
- เมืองปาหังตรากระต่าย
- เมืองไทรบุรีตรางูใหญ่
- เมืองพัทลุงตรางูเล็ก
- เมืองตรังตราม้า
- เมืองชุมพรตราแพะ
- เมืองปันทายสมอ(กระบี่)ตราลิง
- เมืองสระอุเลา (สงขลา)ตราไก่
- เมืองตะกั่วป่า ถลางตราหมา
- เมืองกระบุรีตราหมู
จากหลักฐานตํานานเมืองนครศรีธรรมราช ตํานานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตลอดถึงวรรณกรรมเรื่องพระนิพพานสูตรทุกสํานวน ต่างยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความ รุ่งเรืองไพศาลของนครศรีธรรมราช ในยุคดังกล่าวและสามารถควบคุมหัวเมือง อื่น ๆ ได้ทั่ว ถึงคาบสมุทร มีแสนยานุภาพเกรียงไกรถึงขนาดกรีธาทัพไปตีลังกาถึงสองครั้ง
เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิม ให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็น ศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไปยัง หัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทาง ภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ
ในช่วงแรกของการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แต่งตั้งอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยของพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ขึ้นเป็น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ” เจ้าพระยานครนครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการมาจนถึงปลาย รัชสมัยรัชกาลที่ 2 จึงได้กราบทูลลาออกจากตําแหน่งด้วย เห็นว่าชราภาพมากแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระบริรักษ์ ภูเบศรผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมา กระทํา ความดีความชอบในราชการ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ” คนทั่วไป รู้จักในนาม เจ้าพระยานครน้อย “
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ตามหลักฐานทางราชการ กล่าวว่าเป็นบุตรเจ้า พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) แต่คนทั่วไปทราบกันว่า เป็นโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราชผู้นี้มีความสามารถ ได้ปราบปรามหัวเมืองมลายู ได้สงบราบคาบเป็นนักการทูตที่สําคัญคนหนึ่ง โดยเฉพาะการเจรจากับอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 2-3 ได้ทําให้ เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมลายู เป็นที่น่านับถือยําเกรงแก่บริษัทอังกฤษซึ่ง กําลังแผ่อิทธิพลทางการค้าขายและทางการเมือง ในภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจาก นี้ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ยังเป็นผู้มีฝีมือในทางช่างหลายอย่างเช่น ฝีมือในทาง การต่อเรือจนได้รับสมญาว่าเป็น “นาวีสถาปนิก” และใน สมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยา นครศรีธรรมราช (น้อย) ก็ได้ถวายพระแท่นถมตะทอง และ พระราชยานถมอีกด้วย
ภายหลังที่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ) ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนถัดมา คือเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ผู้บุตรไม่เข็มแข็งเท่าที่ควรเป็นเหตุให้หัวเมือง กระด่างกระเดื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไข จัดการปกครองหัว เมืองปักษ์ใต้ โดยให้มีการปกครองเป็นมณฑลนครศรีธรรมราชจึง เป็นมณฑลหนึ่งของ ประเทศไทย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้นสุขุม ) เป็นข้าหลวง เทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ในพ.ศ. 2439
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลง การบริหาร ราชการแผ่นดินด้านการปกครองหัวเมืองอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลนี้ โปรดฯ ให้มีการแต่งตั้ง ตําแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ขึ้น เพื่อปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด ในการนี้ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ดํารงตําแหน่ง อุปราชปักษ์ใต้
จนกระทั่งได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยุบมณฑล นครศรีธรรมราชลงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และดํารงฐานะดังกล่าว เรื่อยมา จนปัจจุบัน
ด้วยเหตุที่นครศรีธรรมราชมีประวัติอันยาวนานมาก ก่อนกรุงสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็น ราชธานีแรกของไทยมีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์มาก่อน ศิลป วัฒนธรรม เช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ช่างฝีมือพื้นบ้าน การละเล่น และ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจึงมีมาก ซึ่งชาวเมืองยังยึด ถือปฏิบัติกัน อยู่ในปัจจุบัน นครศรีธรรมราชจึงมีอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์ ของชาติ บ้านเมืองมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ที่มา http://www.nakhonsithammarat.go.th/history.php
รายชื่ออำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช 23 อำเภอ
- เมืองนครศรีธรรมราช
- อำเภอขนอม
- อำเภอสิชล
- อำเภอท่าศาลา
- อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- อำเภอปากพนัง
- อำเภอชะอวด
- อำเภอหัวไทร
- อำเภอเชียรใหญ่
- อำเภอทุ่งสง
- อำเภอทุ่งใหญ่
- อำเภอจุฬาภรณ์
- อำเภอร่อนพิบูลย์
- อำเภอพระพรหม
- อำเภอพรหมคีรี
- อำเภอลานสกา
- อำเภอฉวาง
- อำเภอนาบอน
- อำเภอพิปูน
- อำเภอนบพิตำ
- อำเภอบางขัน
- อำเภอช้างกลาง
- อำเภอถ้ำพรรณรา
ประวัติอำเภอหัวไทร
เดิมอำเภอหัวไทร มีชื่อที่เรียกตามหลักฐานทางราชการ ว่า “อำเภอพังไกร” เป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 รองจากอำเภอเบี้ยซัด (อำเภอปากพนังในปัจจุบัน) อำเภอพังไกร ตั้งอยู่ที่บ้านเขาพังไกร หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพังไกร สถานที่ตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียนวัดบูรณาวาสไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร ติดกับเชิงเขาพังไกร เมื่อ ร.ศ.116 อำเภอมีบ้าน 554 หลังคาเรือน มีผู้ใหญ่บ้าน 240 คน มีกำนัน 18 คน โดยมี “นายก้าน มหาดเล็ก” ซึ่งเป็นบุตรพระดำรงเทวฤทธิ์ (กล่อม) เป็นนายอำเภอคนแรก และต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงประจันตุจุฑารักษ์”
ต่อมาปี พ.ศ. 2460 สมัยหลวงอนุสรสิทธิกรรม (ขาว ณ นคร) เป็นนายอำเภอได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บ้านหัวไทร หมู่ที่ 1 ตำบลหัวไทร เนื่องจากที่ว่าการอำเภอเดิมห่างไกลเส้นทางคมนาคม และได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อำเภอหัวไทร” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อบ้าน และได้ใช้ชื่อดังกล่าวมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2466 อำเภอหัวไทรได้ถูกลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นตรงต่ออำเภอปากพนัง มีแต่ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งเป็นผู้รักษาการมาจนถึง พ.ศ. 2480 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตรงกับสมัย “นายนาค ศรีวิสุทธิ” เป็นนายอำเภอ ด้วยมีข้อกำจัดเนื่องจากบริเวณพื้นที่ว่าการอำเภอแคบและไม่สามารถสร้างสถานที่ราชการเพิ่มเติมออกไปได้ จึงได้มีการพิจารณาย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหัวไทรไปอยู่ที่หมู่ที่ 11 ตำบลหัวไทร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน และขณะนี้อำเภอหัวไทรเป็นอำเภอชั้น 2
- 18 สิงหาคม 2450 โอนพื้นที่ตำบลทะเลน้อย ตำบลตะเครียะ ตำบลหัวป่า ตำบลบ้านพร้าว และตำบลสำโรง จากอำเภอพังไกร (อำเภอหัวไทรในปัจจุบัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปขึ้นกับอำเภอปากประ (อำเภอทะเลน้อย) จังหวัดพัทลุง วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพังไกร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น อำเภอหัวไทร
- วันที่ 27 พฤศจิกายน 2464 โอนพื้นที่ตำบลคลองแดน จากอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอระโนด อำเภอจะทิ้งพระ (อำเภอสทิงพระ) จังหวัดสงขลา
- วันที่ 16 กันยายน 2466 ยุบอำเภอหัวไทร ลงเป็น กิ่งอำเภอหัวไทร และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 2 สิงหาคม 2480 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอหัวไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทร ตำบลหน้าสตน ตำบลบางนบ ตำบลบ้านราม ตำบลบางพูด ตำบลท่าซอม ตำบลทรายขาว ตำบลเขาพังไกร และตำบลแหลม
- วันที่ 29 มกราคม 2482 ยุบตำบลบางพูด และโอนพื้นที่หมู่ 1-8 ตำบลบางพูด (ที่ถูกยุบ) ไปขึ้นกับตำบลท่าซอม
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหน้าสตน แยกออกจากตำบลท่าซอม และตำบลหัวไทร ตั้งตำบลบ้านราม แยกออกจากตำบลทรายขาว ตั้งตำบลบางนบ แยกออกจากตำบลท่าซอม
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลหัวไทร ในท้องที่บางส่วนของตำบลหัวไทร
- วันที่ 25 มกราคม 2509 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหัวไทร เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 9 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลควนชะลิก แยกออกจากตำบลแหลม
- วันที่ 17 มิถุนายน 2523 ตั้งตำบลรามแก้ว แยกออกจากตำบลเขาพังไกร
- วันที่ 16 กันยายน 2523 ตั้งตำบลเกาะเพชร แยกออกจากตำบลหน้าสตน
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหัวไทร เป็นเทศบาลตำบลหัวไทร ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเพชร ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเกาะเพชร
- วันที่ 7 กันยายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าสตน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลหน้าสตน
ประวัติอำเภอร่อนพิบูลย์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงมีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาล ร่อนพิบูลย์เป็นแขวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นในมณฑลนครศรีธรรมราช โดยประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครอง จากแขวงเป็นอำเภอ อำเภอร่อนพิบูลย์ ได้ชื่อมาจาก “บ้านร่อน” ด้วยที่ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพร่อนแร่ขาย เมื่อมีการจัดตั้งแขวงขึ้น จึงได้ใช้ชื่อว่า “ร่อนพิบูลย์” และยังมีความหมายบ่งบอกถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสินแร่ ซึ่งเดิมทีการทำเหมืองแร่เป็นประเภทเหมืองขุดเจาะ
ครั้นถึง พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการได้จัดระเบียบการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราชเสียใหม่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 โดยแบ่งเขตปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลำพูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอกลาย
- พ.ศ. 2466 แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็งจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอร่อนพิบูลย์
- พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลควนชุม แยกออกจากตำบลควนพัง ตั้งตำบลเสาธง แยกออกจากตำบลหินตก ตั้งตำบลวังอ่าง แยกออกจากตำบลท่าประจะ ตั้งตำบลเคร็ง แยกออกจากตำบลท่าเสม็ด
- พ.ศ. 2492 โอนพื้นที่หมู่ที่ 6 (ในตอนนั้น) ของตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่
- พ.ศ. 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็น อำเภอชะอวด
- พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์
- พ.ศ. 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- พ.ศ. 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง ในท้องที่หมู่ที่ 1, 2 ตำบลควนเกย
- พ.ศ. 2523 ตั้งตำบลทางพูน แยกออกจากตำบลเสาธง
- พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลนาหมอบุญ แยกออกจากตำบลสามตำบล
- พ.ศ. 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก ในท้องที่หมู่ที่ 3, 4, 5, 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลหินตก
- พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลทุ่งโพธิ์ แยกออกจากตำบลควนเกย ตั้งตำบลควนหนองคว้า แยกออกจากตำบลควนเกย ตำบลควนพัง และตำบลควนชุม และโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลควนหนองคว้า จากอำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับอำเภอจุฬาภรณ์[
- พ.ศ. 2537 แยกพื้นที่ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด จากอำเภอชะอวด และตำบลควนหนองคว้า ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลนาหมอบุญ ตำบลสามตำบล จากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวโรกาสที่ทรงมีพระชันษาครบ 3 รอบ ในปีพุทธศักราช 2536
- พ.ศ. 2539 แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวงจากอำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูนจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ สุขาภิบาลเขาชุมทอง และสุขาภิบาลหินตก เป็นเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ เทศบาลตำบลเขาชุมทอง และเทศบาลตำบลหินตกตามลำดับ
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลควนเกยรวมกับเทศบาลตำบลเขาชุมทอง
ประวัติอำเภอทุ่งสง
- พ.ศ. 1588 เจ้าศรีราชา ได้ยกพลจากเมืองเวียงสระ มาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองร้างในขณะนั้น และได้ให้ไพร่พลได้แผ้วถางป่าให้เป็นนา และตั้งเมืองมานั้นแต่นั้น
- พ.ศ. 2354 ในสมัยรัชกาลที่ 2แห่งราชวงศ์จักรี ได้แบ่งการปกครองพื้นที่เมืองทุ่งสงออกเป็น 4 แขวง
- พ.ศ. 2440 เมื่อเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบมณฑลเป็นระบบจังหวัด ได้รวบรวมพื้นที่จัดตั้งอำเภอทุ่งสงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีการปกครองแบ่งเป็น 22 ตำบล
- พ.ศ. 2449 เนื่องด้วยพื้นที่ของอำเภอทุ่งสงมีขนาดใหญ่มาก ไม่สะดวกต่อการปกครอง ทางการได้แยกตำบลลำทับไปขึ้นกับอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอทุ่งสงออกไปจัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลกุแหระ ตำบลปริก ตำบลทุ่งสังข์
- พ.ศ. 2474 เนื่องจากพื้นที่ส่วนราชการคับแคบลง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอออกไปยังพื้นที่ใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอทุ่งสงมาตราบจนทุกวันนี้ ส่วนที่ว่าการอำเภอเดิมนั้นปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลเมืองทุ่งสง
- พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทั่วภาคใต้ อำเภอทุ่งสงจึงเป็นสถานที่สำคัญในเป้าหมาย เพราะญี่ปุ่นได้วางแผนที่จะรวมพลที่อำเภอทุ่งสง และจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ จึงทำให้สถานที่หลายแห่งได้รับความเสียหายจากระเบิด โดยเฉพาะสถานีรถไฟร่องรอยจากระเบิดพอที่จะมีให้เป็นสระน้ำหลังสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และลูกระเบิดที่ตั้งแสดงที่บันไดทางขึ้นที่ว่าการอำเภอ 2 ลูก นอกจากนี้วัดโคกหม้อเดิมได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยชุมพล เนื่องจากมีการรวมพลทหารญี่ปุ่นกันที่วัด
- พ.ศ. 2483 ตำบลปากแพรกได้ยกฐานเป็นเทศบาลตำบลปากแพรก มีนายเนย ศิลปรัศมี เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก แต่เนื่องด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ได้มีการย้ายสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสงจากพื้นที่ตำบลทุ่งสงมาตั้งอยู่ในตำบลปากแพรก ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 30 กิโลเมตร จึงเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่เรียกพื้นที่ตำบลปากแพรกว่า ทุ่งสง ตามชื่อสถานีรถไฟ
- พ.ศ. 2500 ได้เกิดอัคคีภัยในตลาดทุ่งสงครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้บ้านเรือนถูกไฟเผาผลาญวอดวาย เศรษฐกิจจึงซบเซาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
- พ.ศ. 2518 ได้แยกตำบลนาบอน ตำบลทุ่งสง และตำบลนาโพธิ์บางส่วน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาบอน ได้ยกฐานะเป็นอำเภอนาบอน เมื่อปี พ.ศ. 2524
- พ.ศ. 2522 ได้แยกตำบลนาโพธิ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 3, 7, 8 และ 9 ไปเป็นตำบลเขาขาว
- พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกตำบลบางขัน ตำบลลำนาว และตำบลวังหิน เป็นกิ่งอำเภอบางขันและได้ยกฐานะเป็นอำเภอบางขันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
- พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลปากแพรกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองทุ่งสง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
ประวัติอำเภอชะอวด
ท้องที่อำเภอชะอวด เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอร่อนพิบูลย์ ทางกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าท้องที่ในมณฑลนครศรีธรรมราชยังไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงได้แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็ง ของอำเภอร่อนพิบูลย์ ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2466 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ปีเดียวกัน
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอชะอวด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ปีเดียวกัน
ประวัติอำเภอปากพนัง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดปกครองท้องที่ให้มีมณฑลเทศาภิบาลใน ร.ศ. 114 อำเภอปากพนังมีชื่อว่า อำเภอเบี้ยซัด หมายถึง สถานที่ที่คลื่นซัดเอาหอยเบี้ยจากทะเลเข้าสู่หาด ซึ่งสมัยโบราณใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2445 ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเบี้ยซัด เป็น อำเภอปากพนัง
เมืองปากพนัง เป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล และมีอ่าวภายในบริเวณปากแม่น้ำปากพนัง เหมาะแก่การเดินเรือและการกระจายสินค้าต่อไปยังหัวเมืองสำคัญอื่น ๆ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในสมัยก่อนเฟื่องฟูมาก เนื่องจากมีสำเภาจากเมืองจีนและเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มาเทียบท่าและกระจายสินค้า และนอกจากนี้ยังปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จเยือนปากพนัง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ความตอนหนึ่งว่า “อำเภอปากพนังนี้ ได้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นที่สำคัญอย่างไร แต่เมื่อไปถึงฝั่งรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้น ผิดไปเป็นอันมาก ไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งมีถึงเพียงนี้” และอีกตอนหนึ่งว่า “เมื่อจะคิดว่าตำบลนี้มีราคาอย่างไรเทียบกับเมืองสงขลา เงินผลประโยชน์แต่อำเภอเดียวนี้ น้อยกว่าเมืองสงขลาอยู่ 20,000 บาทเท่านั้น บรรดาเมืองท่าในแหลมมาลายูฝั่งตะวันออก เห็นจะไม่มีแห่งใดดีเท่าปากพนัง”
- วันที่ 15 มีนาคม 2445 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเบี้ยซัด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น อำเภอปากพนัง
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2448 จัดตั้งศาลอำเภอปากพนัง (ศาลจังหวัดปากพนัง) ในท้องที่อำเภอปากพนัง แขวงเมืองนครศรีธรรมราช มีเขตตลอดท้องที่อำเภอปากพนัง และ อำเภอพังไกร (อำเภอหัวไทร) และให้มีอำนาจเทียบเท่าศาลหัวเมือง (ศาลจังหวัด)
- วันที่ 16 กันยายน 2466 ยุบอำเภอหัวไทร ลงเป็น กิ่งอำเภอหัวไทร และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2480 แยกพื้นที่ตำบลท้องลำเจียก ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขา ตำบลการะเกด ตำบลท่าขนาน ตำบลบ้านเนิน ตำบลเขาพระบาท ตำบลเสือหึง ตำบลบ้านกลาง และตำบลเชียรใหญ่ จากอำเภอปากพนัง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองปากพนัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากพนัง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ตำบลบางพระ และตำบลหูล่อง
- วันที่ 2 สิงหาคม 2480 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอหัวไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทร ตำบลหน้าสตน ตำบลบางนบ ตำบลบ้านราม ตำบลบางพูด ตำบลท่าซอม ตำบลทรายขาว ตำบลเขาพังไกร และตำบลแหลม
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 ตั้งตำบลไสหมาก แยกออกจากตำบลบางตะพง และโอนพื้นที่ตำบลไสหมาก อำเภอปากพนัง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ กับตั้งตำบลชะเมา แยกออกจากตำบลดอนตรอ และโอนพื้นที่ตำบลชะเมา กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ มาขึ้นกับอำเภอปากพนัง
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลคลองกระบือ ตั้งตำบลเกาะทวด แยกออกจากตำบลชะเมา ตั้งตำบลท่าพยา แยกออกจากตำบลบ้านเพิง ตั้งตำบลบางตะพง แยกออกจากตำบลบางศาลา ตั้งตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก แยกออกจากตำบลบางฉนาก ตั้งตำบลบางพระ แยกออกจากตำบลบางฉนาก ตั้งตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก แยกออกจากตำบลบางทวด ตั้งตำบลบ้านกลาง แยกออกจากตำบลท่าขนาน และตำบลบ้านเนิน
- วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอเชียรใหญ่
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2492 ตั้งตำบลแหลมตะลุมพุก แยกออกจากตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขนาบนาก ในท้องที่ตำบลขนาบนาก
- วันที่ 30 ธันวาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองปากพนัง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง ให้ศาลจังหวัดปากพนังมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอปากพนัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีการตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเขตการปกครองตลอดท้องที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวง ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเชียรใหญ่ และอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง และตำบลทางพูน ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ และอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดทุ่งสง จึงสมควรเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง โดยให้ศาลจังหวัดปากพนังมีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติด้วย
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางตะพง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา
- วันที่ 7 กันยายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะทวด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเกาะทวด
- วันที่ 6 กันยายน 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชะเมา ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลชะเมา
- วันที่ 19 ธันวาคม 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบางพระ