ที่สุดของความเข้มขลัง “ทายาทขุนพันธ์” รวมเกจิเมืองนครฯ จัดใหญ่ พิธีเททองรูปหล่อท่านขุนพันธ์และวัตถุมงคลรุ่นพยักฆ์ทักษิณปี 2566
• คนทั่วไปรู้จัก ขุนพันธ์ หรือ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ในฐานะมือปราบจอมขมังเวทย์ เก่งหนังเหนียว มีของดีเยอะ คาถาไสยเวทย์สุดขลัง เป็นยอดมนุษย์สุดคงกระพัน (เรื่องราวเคยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ขุนพันธ์ถึง 3 ภาค)
• ในอีกมุมหนึ่ง ท่านเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นเจ้าพิธี ดำริสร้าง วัตถุมงคล พระเครื่อง หลายรุ่น โดยวัตถุมงคลของขุนพันธ์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ มีเหตุผล มุ่งสร้างพระเพื่อสาธารณประโยชน์ กลายเป็นตำนานพระดีของขุนพันธ์
• หนึ่งใน พระชุดที่ผู้คนรู้จัก ขุนพันธ์ ฯ มากที่สุด คือ จตุคาม ปี 2530 หรือ พระผลสุริยันจันทราปี 2530 สร้างเป็นที่ระลึกการสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ในใบฝอยหรือรายละเอียดในการสร้างวัตถุมงคล บอกว่า สร้างขึ้นในโอกาส ประกอบพิธีกรรม เบิกเนตรหลักเมือง ศรีวิชัย 12 นักษัตร ระหว่าง วันที่ 3-5 มีนาคม 2530 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล
• เหรียญปิดตาพังพระกาฬปี 2532 , พระผงจตุคามรามเทพ รุ่น ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อปีพ.ศ. 2544 รุ่นมงคลจักรวาลพุทธาคมเขาอ้อปีพ.ศ. 2545, พระปฐมอรหันต์ ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็น พระดีของขุนพันธ์ มุ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนา แต่ละองค์มูลค่าสูงมาก
• ปัจจุบันมีเรื่องราวของท่าน รวมถึงผลงานต่างๆ ถูกรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ ภายใต้การบริหาร ขุนพันธ์ ศูนย์พระเครื่อง พ.ราชเดช ดำเนินการโดยทายาทรุ่นที่ 1 (ลูก) และรุ่นที่ 2 (หลาน) และล่าสุดเตรียมงานประจำปี พิธีเททองรูปหล่อท่านขุนพันธ์และวัตถุมงคลรุ่นพยักฆ์ทักษิณปี 2566
รวมเกจิเมืองนครฯ จัดใหญ่ พิธีเททองรูปหล่อท่านขุนพันธ์และวัตถุมงคลรุ่นพยักฆ์ทักษิณ ประจำปี 2566 ภายในงานเต็มไปด้วยความเข้มขลังทั้ง พิธีบวงสรวงแบบพิธีพราหมณ์, พิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ (พิธีพุทธ) และหุงสีผึ้งท่านขุนพันธ์ จากนั้น พิธีเททองหล่อรูปเหมือนท่านขุนพันธ์ โดยประธานฝ่ายสงฆ์ท่านเจ้าคุณวัดพระธาตุวรมหาวิหารและพระครูภาวนาจริยานุกูล (จารึก จาริโก) วัดห้วยเตง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช โดย พิธีครั้งนี้ คุณ ณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช บุตรชายคนโตท่านขุนพันธ์ เป็นเจ้าพิธี พร้อมด้วยทายาทรุ่นสอง คุณ ณสรวง พันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้สรรสร้าง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโบสถ์ ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดห้วยเตง อ. พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช บูรณะโบสถ์วัดทางขึ้น และเป็นทุนการศึกษาแด่นักเรียนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โรงเรียนวัดทางขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้รับความสนใจจากศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาอย่างล้นหลาม นับเป็นอีกหนึ่งของดี ของขลัง ของมงคลเมืองนครฯ (วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2566 ณ วัดพระธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช)
คุณ ณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช บุตรชายคนโตท่านขุนพันธ์ เผยว่า
ในการจัดสร้างครั้งนี้ เพื่อ ระลึก 125ปี ชาตกาล ท่านขุนพันธ์ ความพิเศษของรูปหล่อท่านขุนพันธ์ในครั้งนี้ คือใต้ฐานบรรจุเหรียญขุนพันธ์สะท้านแผ่นดินที่จัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2551 จะถูกนำมาบรรจุใต้ฐานรูปหล่อท่านขุนพันธ์ทุกองค์ และทุกองค์จะต้องตอกโค้ต ตอกเลขเพื่อรันจำนวนในการจัดสร้างให้เป็นไปตามที่ประกาศไว้
เนื้อนำกฤษ์ในพิธีจัดสร้าง 125 องค์เพื่อระลึกถึงถ้าท่านขุนพันธ์ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ก็จะอายุ 125 ปีทางผู้จัดสร้างก็เลยจัดสร้างองค์นำกฤษ์ 125 องค์และไม่เคยมีการจัดสร้างรูปเหมือนขนาด 12 นิ้วที่แต่งชุดนายพลเต็มยศแบบนี้มาก่อนเลยครั้งนี้เป็นครั้งแรกในการจัดสร้าง
การจัดสร้างในครั้งนี้มีความพิเศษตรงที่ว่าจะมีการเทหล่อรูปเหมือนที่วัดพระบรมธาตุทำตามแบบฉบับโบราณโดยสืบต่อมาจากปู่ขุนพันธ์ ครับแล้วก็ส่งต่อมายังลูกชาย ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญมากเนื่องจากไม่มีการจัดสร้างและทำพิธีแบบนี้มาเป็นเวลา 16 ปีแล้ว
มวลสาร พิเศษ ประกอบไปด้วย ยันต์ 108 แบบ นะ 14 แบบ เหล็กน้ำพี้ ตะปูพิเศษจากวัดพระธาตุ หลังก่อนก่อนบูรณะซึ่งผ่านการกราบไหวจากผู้คนทั่วทุกสารทิศมานับ 1000 ปีแล้ว และมีโลหะผสมเหล็กไหลใครบูชา จะได้โชคลาภ หน้าที่การงานชีวิตรุ่งเรืองโดยเฉพาะสอบเข้าตำรวจ ทหาร ราชการ คนมามาบูชาไป สำเร็จกันมากมาย
ท้ายสุดคนทั่วไปรู้จัก ขุนพันธ์ หรือ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ในฐานะมือปราบจอมขมังเวทย์ เก่งหนังเหนียว มีของดีเยอะ คาถาไสยเวทย์สุดขลัง เป็นยอดมนุษย์สุดคงกระพัน (เรื่องราวเคยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ขุนพันธ์ถึง 3 ภาค) ในอีกมุมหนึ่ง ท่านเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นเจ้าพิธี ดำริสร้าง วัตถุมงคล พระเครื่อง หลายรุ่น โดยวัตถุมงคลของขุนพันธ์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ มีเหตุผล มุ่งสร้างพระเพื่อสาธารณประโยชน์ กลายเป็นตำนานพระดีของขุนพันธ์ โดยปัจจุบันมีเรื่องราวของท่านในพิพิธภัณฑ์ ภายใต้การบริหาร ขุนพันธ์ ศูนย์พระเครื่อง พ.ราชเดช ซึ่งดำเนินการโดยทายาทรุ่นที่ ๒ (ลูก) และรุ่นที่ ๓ (หลาน) และล่าสุดเตรียมงาน พิธีเททองรูปหล่อท่านขุนพันธ์และวัตถุมงคลรุ่นพยักฆ์ทักษิณปี 2566 จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม
สำหรับ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ชื่อเดิมว่า “บุตร พันธรักษ์” เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรชายของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ โดยขุนพันธ์ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2446 – 2549) ขุนพันธ์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปัจจุบัน) โดยในขณะที่เรียนขุนพันธ์ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ นายร้อยในเรื่องของวิชามวยไทย โดยขุนพันธ์ได้เป็นครูสอนมวยไทยด้วย ขุนพันธ์เรียนอยู่ 5 ปี และได้สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472 ในช่วงนั้น กรมตำรวจ ได้แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ กรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล โดยตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า “ตำรวจนครบาล” ส่วนตำรวจที่จับกุมคนร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวน ทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้นๆ เรียกว่า “ตำรวจภูธร”
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ขุนพันธ์ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2473 และในปีเดียวกัน ขุนพันธ์ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง และที่แห่งนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับขุนพันธ์ จากการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นคนร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง และมีผู้ใหญ่หลายคนในจังหวัดให้การอุ้มชู (คำว่า “เสือ” คือคำเรียกสำหรับ โจร ที่มีการซ่องสุมผู้คนในการกระทำผิดต่างๆ) หลังจากนั้น 1 ปี ขุนพันธ์ก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น จากผลงานดังกล่าว ทำให้ขุนพันธ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพันธรักษ์ราชเดช'” ในปี พ.ศ. 2474
การปราบโจรครั้งสำคัญที่ทำให้ขุนพันธ์มีชื่อเสียงมากคือ การปราบ หัวหน้าโจร “อะแวสะดอ ตาและ”ผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. 2481 ที่จะเลือกปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ แต่ในที่สุดก็ถูก ขุนพันธ์จับกุมได้ โดยขุนพันธ์ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นอันมาก จนได้รับฉายาว่า “รายอกะจิ” หรือที่แปลว่า “อัศวินพริกขี้หนู” หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ก็ได้ย้ายไปประจำอีกหลายจังหวัด และมีผลงานต่างๆ เรื่อยมา ทั้งการปราบปรามผู้ร้ายหลายคน ทั้ง เสือฝ้าย เสือหวัด เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น โดยขุนพันธ์ เกษียณอายุราชการยศ พลตำรวจตรี ในปี พ.ศ. 2507
ทั้งนี้ แม้ขุนพันธ์จะเกษียณอายุราชการและจากไปนานแล้ว แต่ความดีของท่านยังอยู่ในความทรงจำของตำรวจทุกนาย ในเรื่องความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ การต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม และเป็นแบบอย่างของตำรวจรุ่นใหม่จนถึงทุกวันนี้ โดยท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ ราชเดช อดีตนายตำรวจชื่อดังกับสมญานามมากมาย อาทิ นายพลตำรวจหนังเหนียว นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว ขุนพันธ์ดาบแดง อัศวินพริกขี้หนูและ มือปราบจอมขมังเวทย์ ผู้ซึ่งโด่งดัง มีชื่อเสียงมาก ในการปราบโจรผู้ร้าย ในภูมิภาคต่างๆ ของไทย เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือใบ เสือมเหศวร แต่มีอยู่คนหนึ่งที่ขุนพันธ์ไม่เคยจับได้ ก็คือ เสือกลับ (กลับ๓๐๐) หรือนายกลับ ดำทอง นั่นเอง เป็นต้น
ท่านขุนพันธ์ ได้ร่ำเรียนฝึกวิชาอาคมหลายอย่างจาก สำนักวัดเขาอ้อ โดยได้เล่าเรียนกับพระอาจารย์ทอง โดยวิชาที่เรียนได้แก่ 1 วิชากำบังตัว 2 วิชาอยู่ยงคงกระพัน 3 การดูฤกษ์ยาม ท่านจึงถือได้ว่าเป็น ฆราวาสที่มีวิชาอาคมมาก หรือจอมขมังเวทย์ และได้ปราบโจรผู้ร้าย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ และมีผู้นำประวัติเรื่องราวของท่านไปสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระดีที่ขุนพันธ์สร้าง ได้ที่ ขุนพันธ์ ศูนย์พระเครื่อง พ.ราชเดช จ.นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 089 999 9972
ท้ายสุดคนทั่วไปรู้จัก ขุนพันธ์ หรือ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ในฐานะมือปราบจอมขมังเวทย์ เก่งหนังเหนียว มีของดีเยอะ คาถาไสยเวทย์สุดขลัง เป็นยอดมนุษย์สุดคงกระพัน (เรื่องราวเคยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ขุนพันธ์ถึง 3 ภาค) ในอีกมุมหนึ่ง ท่านเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นเจ้าพิธี ดำริสร้าง วัตถุมงคล พระเครื่อง หลายรุ่น โดยวัตถุมงคลของขุนพันธ์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ มีเหตุผล มุ่งสร้างพระเพื่อสาธารณประโยชน์ กลายเป็นตำนานพระดีของขุนพันธ์ โดยปัจจุบันมีเรื่องราวของท่านในพิพิธภัณฑ์ ภายใต้การบริหาร ขุนพันธ์ ศูนย์พระเครื่อง พ.ราชเดช ซึ่งดำเนินการโดยทายาทรุ่นที่ ๒ (ลูก) และรุ่นที่ ๓ (หลาน) และล่าสุดเตรียมงาน พิธีเททองรูปหล่อท่านขุนพันธ์และวัตถุมงคลรุ่นพยักฆ์ทักษิณปี 2566 จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม
สำหรับ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ชื่อเดิมว่า “บุตร พันธรักษ์” เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรชายของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ โดยขุนพันธ์ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2446 – 2549) ขุนพันธ์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปัจจุบัน) โดยในขณะที่เรียนขุนพันธ์ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ นายร้อยในเรื่องของวิชามวยไทย โดยขุนพันธ์ได้เป็นครูสอนมวยไทยด้วย ขุนพันธ์เรียนอยู่ 5 ปี และได้สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472 ในช่วงนั้น กรมตำรวจ ได้แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ กรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล โดยตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า “ตำรวจนครบาล” ส่วนตำรวจที่จับกุมคนร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวน ทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้นๆ เรียกว่า “ตำรวจภูธร”
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ขุนพันธ์ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2473 และในปีเดียวกัน ขุนพันธ์ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง และที่แห่งนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับขุนพันธ์ จากการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นคนร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง และมีผู้ใหญ่หลายคนในจังหวัดให้การอุ้มชู (คำว่า “เสือ” คือคำเรียกสำหรับ โจร ที่มีการซ่องสุมผู้คนในการกระทำผิดต่างๆ) หลังจากนั้น 1 ปี ขุนพันธ์ก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น จากผลงานดังกล่าว ทำให้ขุนพันธ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพันธรักษ์ราชเดช'” ในปี พ.ศ. 2474
การปราบโจรครั้งสำคัญที่ทำให้ขุนพันธ์มีชื่อเสียงมากคือ การปราบ หัวหน้าโจร “อะแวสะดอ ตาและ”ผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. 2481 ที่จะเลือกปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ แต่ในที่สุดก็ถูก ขุนพันธ์จับกุมได้ โดยขุนพันธ์ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นอันมาก จนได้รับฉายาว่า “รายอกะจิ” หรือที่แปลว่า “อัศวินพริกขี้หนู” หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ก็ได้ย้ายไปประจำอีกหลายจังหวัด และมีผลงานต่างๆ เรื่อยมา ทั้งการปราบปรามผู้ร้ายหลายคน ทั้ง เสือฝ้าย เสือหวัด เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น โดยขุนพันธ์ เกษียณอายุราชการยศ พลตำรวจตรี ในปี พ.ศ. 2507
ทั้งนี้ แม้ขุนพันธ์จะเกษียณอายุราชการและจากไปนานแล้ว แต่ความดีของท่านยังอยู่ในความทรงจำของตำรวจทุกนาย ในเรื่องความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ การต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม และเป็นแบบอย่างของตำรวจรุ่นใหม่จนถึงทุกวันนี้ โดยท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ ราชเดช อดีตนายตำรวจชื่อดังกับสมญานามมากมาย อาทิ นายพลตำรวจหนังเหนียว นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว ขุนพันธ์ดาบแดง อัศวินพริกขี้หนูและ มือปราบจอมขมังเวทย์ ผู้ซึ่งโด่งดัง มีชื่อเสียงมาก ในการปราบโจรผู้ร้าย ในภูมิภาคต่างๆ ของไทย เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือใบ เสือมเหศวร แต่มีอยู่คนหนึ่งที่ขุนพันธ์ไม่เคยจับได้ ก็คือ เสือกลับ (กลับ๓๐๐) หรือนายกลับ ดำทอง นั่นเอง เป็นต้น
ท่านขุนพันธ์ ได้ร่ำเรียนฝึกวิชาอาคมหลายอย่างจาก สำนักวัดเขาอ้อ โดยได้เล่าเรียนกับพระอาจารย์ทอง โดยวิชาที่เรียนได้แก่ 1 วิชากำบังตัว 2 วิชาอยู่ยงคงกระพัน 3 การดูฤกษ์ยาม ท่านจึงถือได้ว่าเป็น ฆราวาสที่มีวิชาอาคมมาก หรือจอมขมังเวทย์ และได้ปราบโจรผู้ร้าย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ และมีผู้นำประวัติเรื่องราวของท่านไปสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระดีที่ขุนพันธ์สร้าง ได้ที่ ขุนพันธ์ ศูนย์พระเครื่อง พ.ราชเดช จ.นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 089 999 9972